วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555



               โรงเรียนตะโหมด  อำเภอตะโหมด  จังหวัดพัทลุง   เป็นโรงเรียนระดับกลางมีนักเรียนประมาณ  1,600 คน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ชั้น ม.1 – ม.6 จำนวนนักเรียนที่มาสมัครเรียนมีอัตราเพิ่มมากขึ้นทุกปี บอกได้ถึงศักยภาพการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากขึ้น

การใช้สื่อในรายวิชาชีววิทยา
                ดิฉันเลือกสังเกตการสอนและการใช้สื่อรายวิชาชีววิทยา ในการสังเกตครั้งนี้ ดิฉันเลือกชั่วโมงที่ 3 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/2 มีครูผู้สอน คือ  ครูสุภาพร   ก้อนเรือง เนื้อหาที่สอนในชั่วโมงนี้ คือ เซลล์และองค์ประกอบภายในเซลล์ สื่อที่ใช้จะเป็น โมเดลของเซลล์พืชและสัตว์ หนังสือประกอบการเรียนการสอนของ สสวท. และการเล่นเกมฉันคือใคร? เป็นเกมที่ครูผู้สอนจะพูดถึงคุณลักษณะของออแกแนลแต่ละชนิด โดยจะเริ่มยกจากคุณลักษณะที่เป็นภาพรวมของออแกแนลแต่ละชนิดจนไปถึงคุณลักษณะเด่น เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดและสามารถมองเซลล์ในภาพรวมได้ถูกต้อง
                และในชั่วโมงที่ 4-5 เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปของชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/7   เนื้อหาที่สอนในชั่วโมงนี้ คือ เรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต(มอเนอราและฟังไจ) สื่อที่ใช้จะเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนของ สสวท. ควบคู่กับการเขียนกระดาน มีใบงานและภาพตัวอย่างสิ่งมีชีวิต เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงคุณลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิตและสามารถแยกแยะสิ่งมีชีวิตในแต่ละอาณาจักรออกได้
               
วิเคราะห์สื่อ
โมเดลของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
-      ทำให้เด็กได้เห็นลักษณะองค์ประกอบภายในเซลล์ชัดเจน มองเห็นถึงคุณลักษณะเด่นของทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้ เพราะโมเดลของเซลล์จะมีขนาดที่ใหญ่มาก มองเห็นได้ทั่วถึง
-      ทำให้เด็กรู้สึกตื่นเต้นและตื่นตัวกับการเรียน เด็กจะสงสัยว่าสิ่งที่ครูนำมาในวันนี้คืออะไรและทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้นและครูก็จะสามารถคุมชั้นเรียนได้ง่ายขึ้น
-      แต่โมเดลที่ใช้จะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักที่มากทำให้มีอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้าย

เกมฉันคือใคร
-      สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี สร้างความสนใจให้แก่เด็ก
-     เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ความรู้เกี่ยวกับออแกแนลต่างๆในเนื้อหาที่ลึกมากขึ้นและเป็นการฝึกทักษะทางด้านการคิดและฝึกสมาธิ
-      เป็นการประมวณความรู้ที่ได้เรียนมาในชั่วโมงนี้
-      แต่การเล่นเกมอาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้ครูสอนเนื้อหาหลักไม่ทัน



ข้อเสนอแนะ

               การเรียนการสอนที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นได้ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์พร้อม  แต่กับห้องเรียนที่โรงเรียนตะโหมดกลับมีห้องที่ไม่มีฝาผนัง  มีเพียงครูหนึ่งคนกับกระดานดำและช็อกเท่านั้น ยืนพูดปากเปล่าในวิชาวิทยาศาสตร์  ความไม่พร้อมของโรงเรียนขนาดกลางเหล่านี้จะส่งผลต่อการพัฒนาของเด็กได้


 



วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมทางการศึกษา


            กระดานอีเลกโทรนิคส์นี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า สมาร์ท บอร์ด ซึ่งบริษัทสมาร์ท เทคโนโลยีในประเทศคานาดาเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น รูปร่างหน้าตาของกระดานอีเลกโทรนิคส์นี้  ดูทั่วๆไปแล้วก็เหมือนจะไม่แตกต่างเท่าไรกับกระดานดำและ ไวท์บอร์ดปกติที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างกระดานดำหรือไวท์บอร์ด กับกระดานอีเลกโทรนิกส์ คือกระดานอีเลกโทรนิกส์ นั้นมีผิวกระดานที่มีความไวต่อการสัมผัส และเชื่อมต่อตัวกระดานเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งาน กระดานอีเลกโทรนิคส์จะแปลสภาพเป็นเสมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งผู้เรียนสามารถเห็นสิ่งที่ปรากฏบนกระดานเสมือนมองจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ และตัวของกระดานเองก็เป็นเสมือนเมาส์ในตัว  นั่นคือ ผู้ใช้ยังสามารถออกคำสั่งให้หน้าข้อมูลที่นำเสนอบนกระดานเปลี่ยนแปลงไปตามต้องการโดยใช้นิ้วสัมผัส ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับการใช้เมาส์สั่งการบนคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เราใช้งานกันอยู่ หรืออาจใช้ปากกาอีเลกโทรนิคส์ที่จัดเตรียมไว้ในการเขียนข้อมูลลงบนกระดานก็ได้

               
สำหรับซอร์ฟแวร์นั้นมีให้ใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น การเขียน การวาดรูป หรือการ Highlight ข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลที่เขียนขึ้นบนกระดานชนิดนี้สามารถจัดเก็บในรูปอีเลกโทรนิคส์ ไฟล์ได้ เพื่อใช้ในการพิมพ์ในภายหลัง

ประโยชน์
            เทคโนโลยีนี้ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้มากขึ้นและภูมิใจในความสำเร็จที่ตนเองได้ทำให้เกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีสมาร์ทบอร์ดเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเอง กระดานอัฉริยะนี้ไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจในการเรียนมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนมากขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้นักเรียนเกิดการแบ่งปันและเสนอความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้อย่างอิสระและในด้านคุณครูนั้นก็มีเวลามากขึ้นที่จะสร้างบทเรียนใหม่ๆ ที่น่าสนใจและดึงดูดให้เกิดการเรียนรู้ และที่สำคัญคุณครูมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้มากขึ้น เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนทำให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ที่มา http://www.oknation.net/blog/wisanu/2012/07/28/entry-1   บุริม โอทกานนท์